Amazing Thailand

ติดตามข่าวสาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2555



ประเทศไทยโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมปศุสัตว์ ร่วมกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations, FAO) องค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (World Organisation for Animal Health, OIE) และ สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม The Second FAO/OIE Global Conference on Foot and Mouth Disease Control ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินี ถนนวิทยุ กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 27 - 29 มิถุนายน 2555 เพื่อนำเสนอยุทธศาสตร์และงบประมาณที่ต้องใช้ใน 5 ปีแรกสำหรับการควบคุมกำจัดโรคปากและเท้าเปื่อยให้หมดจากโลกภายในปี พ.ศ. 2563 (Global FMD Control Strategy) เนื่องจากเป็นโรคระบาดที่รุนแรงในสัตว์เคี้ยวเอื้องและสุกร เพื่อช่วยลดและบรรเทาปัญหาความยากจนของเกษตรกรที่ต้องบริโภคเนื้อและนมหรือใช้แรงงานจากสัตว์เหล่านี้ อีกทั้งการระบาดในวงกว้างทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้สูง และยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญของการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยรัฐมนตรีเกษตรจาก 30 ประเทศ อธิบดีกรมการสัตวแพทย์ซึ่งเป็นผู้แทนของ OIE ในประเทศสมาชิกจำนวน 178 ประเทศ ผู้กำหนดนโยบาย สัตวแพทย์ นักวิจัยวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยโรคและโรงงานผลิตวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย ผู้ประกอบการด้านสุขภาพสัตว์และการปศุสัตว์ หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือสนับสนุน และองค์กรเอกชนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก 350 นาย รวมเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์และนายสัตวแพทย์ของไทยอีกประมาณ 300 นาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนองค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรมการตรวจวินิจฉัยและการใช้วัคซีนควบคุมโรค ความก้าวหน้าของงานวิจัย การวิเคราะห์ภาวะโรคและผลกระทบทางเศรษฐกิจ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นข้อเสนอแนะ และสร้างมิตรภาพความคุ้นเคย การจัดประชุมระดับโลกในครั้งนี้จะช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงและศักยภาพของประเทศไทย นอกเหนือจากความสามารถในการจัดประชุมนานาชาติที่น่าประทับใจ และเป็นการแหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ยังมีวิทยาการด้านควบคุมกำจัดโรคซึ่งกรมปศุสัตว์กำลังดำเนินการเพื่อขอให้ OIE รับรองพื้นที่ในภาคตะวันออกของประเทศไทยปลอดจากโรคปากและเท้าเปื่อยตามมาตรฐานสากลตามแผนงาน Progressive Control Pathway (PCP) ภายในเดือนสิงหาคมปีนี้อีกด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สมัครสมาชิก ส่งความคิดเห็น [Atom]

<< หน้าแรก