Amazing Thailand

ติดตามข่าวสาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เทศกาลชมโลมา ชิมปลากระพง เที่ยวดงนก

ชมโลมา ชิมปลากะพง เที่ยวดงนก ช่วงปลายเดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ โลมา - สีสันแห่งท้องน้ำ สัตว์ที่อ่อนโยน รักสนุก ขี้เล่น ปลากะพง – สีสันแห่งอาชีพ เลี้ยงมากที่สุดในภาคตะวันออก นกน้ำ -สีสันแห่งท้องฟ้า สัตว์ที่ขยัน อดทน รักเผ่าพงษ์ยิ่ง

บริเวณปากอ่าวไทย ตำบล ท่าข้าม อำเภอ บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ในช่วงประมาณปลายเดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ของทุกปี จึงมีโลมาฝูงใหญ่ว่ายตามลมหนาว กระแสน้ำเค็มและแหล่งอาหาร นั้นคือ ปลาดุกทะเลเข้ามาถึงปากอ่าวไทย จุดสิ้นสุดของแม่น้ำบางปะกง หากลมทะเลพัดเบา ๆ โลมาจะโผล่น้ำขึ้นมาหายใจเนื่องจากออกซิเจนในน้ำมีน้อย หากลมทะเลพัดแรง ถึงคราวที่จะต้องลุ้นระทึกตามหาโลมา ครอบครัวโลมาจะว่ายเป็นฝูงและหยอกล้อเล่นกันอย่างสนุกสนาน

เทศบาลตำบลท่าข้าม ได้สนับสนุนให้ชาวประมงที่ว่างเว้นจากการประกอบอาชีพหลัก นำเรือมาบริการนัก ท่องเที่ยวพา ชมฝูงโลมา พันธุ์หัวบาตร พันธุ์อิรวดี พันธุ์ปากขวด ส่องกล้องดูนก เช่น นกกาน้ำ นกแสก ค้างคาวแม่ไก่ นกนางนวล รวมทั้งลิงแสมตัวเล็ก ๆ ที่มาอาศัยอยู่บริเวณป่าชายเลน ศึกษาวิถีชีวิตชาวประมง แหล่งเลี้ยงปลากะพง ชิมปลากะพง และอาหารทะเลสดใหม่รสชาติอร่อย

จัดงานวันที่
 1 ต.ค. 2553

งานพรรณไม้งาม อร่ามสวนหลวง ร.9


การจัดนิทรรศการประวัติสวนหลวง ร.9 นิทรรศการศิลปะประดิษฐ์ที่ชนะการประกวด พวงมาลัย การจำหน่ายต้นไม้และอุปกรณ์จัดสวน การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน 4 ภาค การแสดงดอกไม้ไฟโบราณ

จะมีการจัดแสดงวันที่ 1 ธ.ค. 2553 - 10 ธ.ค. 2553

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เที่ยว เลาะเลียบริมสองฝั่งน้ำ เยือนเหืองแลโขง


สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ร่วมกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลยขอเชิญผู้ที่สนใจ ท่องเที่ยวสัมผัสธรรมชาติมหัศจรรย์ 3 วัน 2 คืน ในเส้นทาง "เลาะเลียบริมสองฝั่งน้ำ เยือนเหืองแลโขง" สมัครได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 30 กันยายน 2553

นางอัจฉพรรณ บุญเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานเลย การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวถึงเส้นทางนี้ว่า เป็นเส้นทางที่นักท่องเที่ยว จะได้ชื่นชมความอัศจรรย์ของธรรมชาติภูเขาหินปูน ของสวนหินผางาม หรือคุณหมิงเมืองไทย ท่องเที่ยวไป ในเมืองสงบ เรียบง่าย ชิมอาหารพื้นเมืองของอำเภอเชียงคาน ชมความงดงามของไม้ดอกนานาชนิดของอำเภอภูเรือ และ วัฒนธรรมอันงดงามของอำเภอด่านซ้าย

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว


สะพานข้าม แม่น้ำแคว เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เนื่องจากประวัติศาสตร์การก่อสร้างสะพานแห่งนี้ เกี่ยวพันกับเหตุการณ์เมื่อครั้งสงครามมหาเอเซียบูรพา โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกพันธมิตรจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์เพื่อผ่านไปยังประเทศพม่า ซึ่งมีส่วนหนึ่งที่จะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ การสร้างทางรถไฟสายนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดอาหาร ทำให้เชลยศึกจำนวนหลายหมื่นคนเสียชีวิต ซึ่งยังทิ้งร่องรอยไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเป็นจำนวนมากในเรื่องราวความเป็นมาในอดีต “สงคราม”

กิจกรรม
ชมเมืองจำลอง “แคว้นโบราณ...กาญจนบุรี” แสดงประวัติศาสตร์ และวิถีชีวิตชาวกาญจนบุรี จัดบริเวณทางเข้างานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว การแสดงแสง เสียง ชุด “สะพานข้ามแม่น้ำแคว ทางรถไฟสายมรณะ ” ณ บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว การออกร้านจำหน่ายสินค้าชุมชน และสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

งาน จัดขึ้นวันที่ 24 พ.ย. - 5 ธ.ค. 2553

เจอกันที่เมืองกาญจน์นะค่ะ

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ประเพณีโล้ชิงช้าชาวอาข่า


ประวัติความเป็นมาของประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้ามีต้นกำเนิดในดินแดนที่มีชื่อว่า "จาแดล้อง" คือพื้นที่ประเทศจีนในปัจจุบัน โดยดินแดนแห่งนี้มีผู้นำอ่าข่า ที่ชื่อ "ข๊ะบา อ่าเผ่ว หม่อโล๊ะโล๊ะซื่อ" และ "ค๊อบาอ่าเผ่วเอวค๊อ ค๊อคอง" เป็นผู้นำที่ชาวอ่าข่าให้การเคารพนับถือ โดยกล่าวว่า ดินแดนจาแด จะทำการจัดประเพณีโล้ชิงช้า 33 วันเมื่อเป็นเช่นนี้สมาชิกคนในดินแดนแห่งนี้ ซึ่งประกอบไปด้วยทั้งคนจน และคนรวย ทุกคนต้องเตรียมเสบียงอาหารไว้เยอะๆ เพื่อเอาไว้ฉลองกันในวันประเพณี นี่คือการบอกเล่าถึงที่มาของ ประเพณีโล้ชิงช้า

ประเพณีโล้ชิงช้าถือเป็นประเพณีทีให้ความสำคัญกับผู้หญิง ฉะนั้นผู้หญิงอ่าข่ามีการแต่งกาย ด้วยเครื่องทรงต่างๆ อย่างสวยงามที่ได้เตรียมไว้ตลอดทั้งปีมาสวมใส่เป็นกรณีพิเศษในเทศกาลนี้ สำหรับหญิงสาวอ่าข่าจะแต่งกายเพื่อยกระดับชั้นวัยสาวตามขั้นตอน แสดงให้คนในชุมชนได้เห็น พร้อมทั้งขึ้นโล้ชิงช้า และร้องเพลงทั้งลักษณะเดี่ยว และคู่ประเพณีโล้ชิงช้า จัดขึ้นเพื่อเป็นการฉลองพืชพันธุ์ที่จะได้เก็บเกี่ยวไว้บริโภค เนื่องจากพืชไร่ พืชสวนต่างๆ ที่ปลูกลงไป พร้อมที่จะได้ผลผลิต โดยมีสุภาษิตกล่าวไว้ว่า "ขู่จ่า หม่าโบะ หม่าโบะ" หมายถึง ประเพณีโล้ชิงช้า มีอาหาร หลากหลาย และสมบูรณ์มากมาย หากประเพณีนี้ไม่มี ประเพณีอื่น หรือพิธีอื่นก็จะไม่มี

และหลังจากที่จัดงานประเพณีโล้ชิงช้าเสร็จแล้ว ชุมชนอ่าข่าก็จะไม่มีการตัดไม้ดิบเข้ามาในชุมชนอีก ไม้ดิบในที่นี้คือไม้ยืนต้น หรือไม้ทุกชนิดที่ยังไม่ได้ถูกตัด ยกเว้นกรณีที่มีคนตายแล้วเท่านั้น จึงถือว่าเป็นวันเข้าพรรษาของชาวอ่าข่าอีกเช่นกัน ในการจัดประเพณีโล้ชิงช้าแต่ละปีของอ่าข่า จะต้องมีฝนตกลงมา ถ้าปีไหนเกิดฝนไม่ตก อ่าข่าถือว่าไม่ดี ผลผลิตที่ออกมาจะไม่งอกงาม ประเพณีโล้ชิงช้า มีระยะเวลาในการจัดรวม 4 วันด้วยกัน โดยแต่ละวันมีกำหนดการดังนี้

วันที่ 1" จ่าแบ"

วันเริ่มแรกของพิธีกรรมเรียกว่า "จ่าแบ" ผู้หญิงอ่าข่าอาจเป็นแม่บ้านของครัวเรือน หรือถ้าแม่บ้าน ไม่อยู่อาจเป็นลูกสาวไปแทนก็ได้ ก็จะแต่งตัวด้วยชุดประจำเผ่าเต็มยศแล้วออกไปตัดน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เพื่อจะนำมาใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาน้ำที่ตักมาจากบ่อน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ อ่าข่าเรียกว่า "อี๊จุอี๊ซ้อ" การเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วของแต่ละครอบครัว แต่อ่าข่าไม่นิยมให้ผู้ชายไปตักน้ำ เพราะถือว่า เป็นงานของผู้หญิง และในวันนี้ก็มีการตำข้าวปุ๊ก "ห่อถ่อง" ข้าวปุ๊ก หรือห่อถ่อง คือข้าวที่ได้จากการตำอย่าง ละเอียดโดยก่อน ที่จะตำก็จะนำข้าวสาร (ข้าวเหนียว) แช่ไว้ประมาณ 1 คืน พอรุ่งเช้าก็นำมานึ่ง หลังจากนึ่งเสร็จ หรือได้ที่แล้วก็จะมีการโปรยด้วยน้ำอีกรอบหนึ่ง แล้วก็นึ่งต่อระหว่างที่รอข้าวสุก ก็จะมีการ ตำงาดำผสมเกลือไปด้วย เพื่อไม่ให้ข้าวเหนียวที่ตำติดมือเวลานำมาปั้นข้าวปุ๊กซึ่งต้องใช้ในการทำ พิธีเช่นกัน

วันที่ 2 วันสร้างชิงช้า

เป็นวันที่ทุกคนจะมารวมตัวกันที่บ้านของ "โจว่มา" ผู้นำศาสนา เพื่อจะปรึกษา และแบ่งงานในการจะปลูกสร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชน หรืออ่าข่า เรียกว่า "หล่าเฉ่อ" ในวันนี้จะไม่มีการทำพิธีใดๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งสัตว์ก็จะไม่ฆ่า หลังจากที่สร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชนเสร็จ ก็จะมีพิธีเปิดโล้ชิงช้าโดย โจว่มา ผู้นำศาสนา จะเป็นผู้เปิดโล้ก่อน จากนั้นทุกคนก็สามารถโล้ได้ หลังจากที่สร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชนเสร็จ ต้องมาสร้างชิงช้าเล็กไว้ ที่หน้าบ้าน ของตนเองอีกเพื่อให้ลูกหลานของตนเล่น ทุกครัวเรือนจะต้องสร้างเพราะถือว่าเป็นพิธี
วันที่ 3 "วัน ล้อดา อ่าเผ่ว"

วันนี้ถือเป็นวันพิธีใหญ่ มีการเลี้ยงฉลองกันทุกครัวเรือนมีการเชิญผู้อาวุโส หรือแขกต่างหมู่บ้านมาร่วมรับประทานอาหารในบ้านของตน ผู้อาวุโสก็จะมี การอวยพรให้กับเจ้าบ้านประสบแต่ความสำเร็จในวันข้างหน้า

วันที่ 4 "จ่าส่า"

วันสุดท้ายของพิธีกรรม "จ่าส่า" สำหรับในวันนี้จะไม่มีการประกอบพิธีกรรมอะไรทั้งสิ้น นอกจากพากันมาโล้ชิงช้า เพราะเป็นวันสุดท้ายที่จะได้โล้ในปีนี้ แต่พอตะวันตกดิน หรือประมาณ 18.00 น ผู้นำศาสนาก็จะทำการเก็บ เชือกของชิงช้า โดยการมามัดติดกับเสาชิงช้า ถือว่าบรรยากาศในการโล้ชิงช้าก็จะได้จบลงเพียงเท่านี้ และหลัง อาหารค่ำก็จะทำการเก็บ เครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ เข้าไว้ที่เดิม หลังจากที่เก็บเครื่องเซ่นไหว้เหล่านี้แล้วถือว่าเสร็จสิ้นพิธีกรรมประเพณี โล้ชิงช้า


กิจกรรม

พิธีโล้ชิงช้าเพื่อการฉลองให้กับพืชผลที่มีความเจริญงอกงามรอเก็บเกี่ยว รำลึกและให้เกียรติสตรี พิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ, การเลี้ยงฉลอง, การเต้นรำ

สอบถามรายละเอียด

ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 12 จังหวัดเชียงราย โทร. 0 5391 8415 สมาคมอาข่า โทร. 0 5371 4250, 08 1952 2179

วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานมหกรรมโปงลาง แพรวา และงานกาชาด จังหวัดกาฬสินธุ์


ขบวนแห่คำขวัญจังหวัดของอำเภอต่างๆ ในวันเปิดงาน การประกวดดนตรีโปงลาง และสาวดีดไห การประกวดธิดาแพรวา ตลอดจนการออกร้านนิทรรศการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น การประกวดโปงลาง และการประกวดธิดาแพรวา การจัดนิทรรศการภูมิปัญญาท้องถิ่น การจำหน่ายสินค้า OTOP การประกวดและจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และการจัดแสดงมอเตอร์โชว์

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งานหัวหิน...ฉันคิดถึงเธอ


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ ร่วมกับ Cicada Market
เชิญชวนนักท่องเที่ยว ร่วมสัมผัสมนต์เสน่ห์เมืองหัวหิน ในงาน “หัวหิน...ฉันคิดถึงเธอ” ทุกวันเสาร์ตลอดเดือนกรกฎาคม 2553
เพื่อเป็นการกระตุ้นและส่งเสริมการ ท่องเที่ยวของเมืองหัวหินในช่วง Green Season ให้มีความคึกคักและครึกครื้นมากขึ้น พร้อมซึมซับความรู้สึกไปกับเรื่องราวประวัติศาสตร์ของเมืองหัวหินผ่าน Street Exhibition ไม่ว่าจะเป็นหนังเก่าที่บันทึกเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ อาทิ พิธีเปิดตลาดฉัตร์ไชยในยุคแรก ภาพเก่าเล่าเรื่องเปรียบเทียบหัวหินในมุมใหม่ปัจจุบันกับเมืองเก่าในอดีต และชม การแสดงไฮไลท์สุดพิเศษชุด “หัวหิน...ฉันคิดถึงเธอ” ที่จะทำให้ใครๆก็ต้องหลงรักเมืองท่องเที่ยวแห่งนี้มากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ภายในงานท่านยังจะพบกับการออกบูธจากผู้ประกอบการโรงแรม กอล์ฟคลับ และสปา จัดแพ็คเกจสุดคุ้มมากกว่า 40 บูธ ให้ท่านได้ช้อปกันอย่างสบายกระเป๋า และร่วมส่งโปสการ์ดสวยๆ ถึงคนที่คุณคิดถึง ให้เขาได้รู้ว่าช่วงเวลาแห่งความคิดถึงนี้เกิดขึ้น ณ ที่นี่ เมืองท่องเที่ยวแห่งนี้ที่ไม่เคยสิ้นมนต์ขลัง…

ขอเชิญทุกท่านร่วม พิธีเปิดงาน “หัวหิน...ฉันคิดถึงเธอ” ในวันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2553 เวลา 18.00 น. ณ Cicada Market

ประเพณีแห่เทียนพรรษา และงานประติมากรรมเทียนนานาชาติ


ชมขบวนแห่เทียนพรรษาสวยงามกว่า 60 ขบวน การประกวดต้นเทียน (ประเภทแกะสลักและประเภทติดพิมพ์) การแข่งขันแกะสลักเทียนพรรษาระดับเยาวชน การแกะสลักเทียนและติดพิมพ์ บริเวณคุ้มต่าง ๆ การประกวดธิดาเทียนพรรษา การประกวดภาพถ่าย ความประทับใจในงานเทียน การแสดงแสงเสียง การแสดงทางวัฒนธรรม การแสดงและจัดจำหน่ายสินค้า หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ การรวมศิลปินแห่งชาติและดารานักร้องดังที่เป็นชาวอุบลฯ การจัดทำของที่ระลึกเพื่อจัดจำหน่ายและกิจกรรมอื่นอีกมากมาย