Amazing Thailand
ติดตามข่าวสาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ที่นี่
วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554
งานประเพณีรับบัว ประจำปี 2554
งานประเพณีรับบัว ประจำปี 2554
วันที่ 11 ตุลาคม 2554
สถานที่จัดงาน: ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีรับบัวเป็นประเพณีเก่าแก่สิบทอดกันมาแต่โบราณ ของชาวอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยจัดงานทุกวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี โดยในสมัยก่อน อำเภอบางพลี มีประชาชนอาศัยอยู่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ คนไทย คนลาว และคนรามัญ (ชาวมอญพระประแดง) ทุกกลุ่มชนต่างทำมาหากินและอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่นเสมือนญาติมิตร
ประเพณีรับบัว เกิดขึ้นเพราะความมีน้ำใจที่ดีต่อกันระหว่างคนในท้องถิ่นกับคนมอญพระประแดงซึ่งทำนาอยู่ที่ตำบลบางแก้ว ในช่วงออกพรรษาจะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง ได้เก็บดอกบัวเพื่อบูชาพระหรือถวายแด่พระสงฆ์และฝากเพื่อนบ้าน
ในปีต่อมา ชาวอำเภอเมือง และชาวอำเภอพระประแดง ต่างพร้อมใจกันพายเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลีและถือเป็นโอกาสอันดีในการนมัสการองค์หลวงพ่อโต อีกทั้งระยะทางระหว่างที่อำเภอพระประแดงกับอำเภอบางพลีไกลกันมาก เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินเรือแต่ละลำจะร้องรำทำเพลงมาตลอดเส้นทาง
สำหรับการแห่หลวงพ่อโตทางน้ำในประเพณีรับบัวที่เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ สืบเนื่องจาก พ.ศ. 2467 นางจั่นกับพวกชาวบางพลี ได้ร่วมสร้างองค์ปฐมเจดีย์ ณ วัดบางพลีใหญ่ในและจัดงานเฉลิมฉลองโดยแห่ผ้าห่มองค์พระปฐมเจดีย์ และวิวัฒนาการมาเป็นแห่องค์หลวงพ่อโตจำลองอัญเชิญไปตามลำคลองสำโรง เพื่อให้ประชาชนได้นมัสการ ดอกไม้ที่ใช้นมัสการคือ ดอกบัว
เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและกิจกรรมด้านพุทธศาสนาช่วงวันออกพรรษา ส่งเสริมการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์กิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรปราการให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ชาวจังหวัดสมุทรปราการ ร่วมกับชุมชนบางพลีจัดงานประเพณีรับบัว ประจำปี 2554 "หนึ่งเดียวในโลก แห่งเดียวในประเทศไทย" (One Traditional only of the word) นมัสการหลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ ร่วมงานสืบสานและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ จากอดีตสู่ปัจจุบัน ชมมหรสพสมโภช ลิเก ดนตรี ลูกทุ่งวงใหญ่ ฟรีตลอดงาน การออกร้านขายสินค้า ของกินของใช้ สินค้าต่าง ๆ มากมาย วันที่ 11 ตุลาคม 2554 ณ บริเวณที่ว่าการอำเภอบางพลี และบริเวณวัดบางพลีใหญ่ใน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีกิจกรรมที่น่าสนใจอาทิ
* สัมผัสวัฒนธรรมอันดีงามและชมการแสดงวิถีชีวิตชาวนา ชาวลาว ชาวมอญ ชาวจีน ชาวมุสลิม การแสดงรำกลองยาว
* เลือกชิมขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง และเลือกซื้อสินค้าชุมชน "OTOP"
* ชมการแข่งขัน เช่น ชกมวยทะเล, หมากรุกคน, แข่งขันเรือมาด
* ชมการประกวดหนุ่มสาวรับบัว, ขวัญใจแม่ค้า, ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง, การนวดมือทอง, การทำขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง
* ชมขบวนเรือสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และตลกขบขัน และร่วมถวายดอกบัวบูชาหลวงพ่อโต
* เยี่ยมชมและสัมผัสบรรยากาศไทยๆ ริมฝั่งคลองสำโรง พร้อมชิมอาหารอร่อย ณ "ตลาดโบราณบางพลี"
ข้อมูลเพิ่มเติม
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานกรุงเทพมหานคร โทร. +66 2250 5500 ต่อ 2991 - 5
วันอาทิตย์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2554
ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม
วันที่ 5 - 13 ตุลาคม 2554 (วันที่ 12 ตุลาคม วันไหลเรือไฟ)
สถานที่จัดงาน: ณ บริเวณริมแม่น้ำโขงเขตเทศบาลเมืองนครพนม และศาลากลางจังหวัดนครพนม
กิจกรรม:
งานประเพณีไหลเรือไฟปีนี้จะจัดให้ยิ่งใหญ่กว่าทุกปีมีพิธีอัญเชิญไฟพระฤกษ์
- การประกวดเรือไฟ
- การลอยกระทงสาย
- การแข่งเรือยาว
- การแห่ปราสาทผึ้ง
- การรำบูชาพระธาตุพนม ซึ่งเป็นการรวมตัวของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ รวม 7 เผ่าที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครพนม แต่งกายด้วยเสื้อผ้าประจำเผ่า และร่ายรำด้วยท่วงท่าอันงดงาม เพื่อบูชาพระธาตุพนม
- การตักบาตรเทโว
- การจัดงานออกร้านกาชาด
- การออกรางวัลสลากกาชาดการกุศล ในปีนี้จัดขึ้นบริเวณศาลากลางจังหวัดนครพนมและบริเวณริมเขื่อนถนนสุนทรวิจิตร
โดยในปีนี้จะจัดให้ยิ่งใหญ่กว่าปีที่ผ่านมา โดยจะมีพิธีอัญเชิญไปพระฤกษ์แตกต่างจากปีที่ผ่านมาโดยจะอัญเชิญไฟพระฤกษ์ในวันที่ 12 ตุลาคม 2554 ซึ่งเป็นวันไหลเรือไฟ
ข้อมูลเพิ่มเติม:
สำนักงานจังหวัดนครพนม โทร. +66 4251 1287, +66 4251 1574
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครพนม โทร. +66 4251 3490 - 2
www.thatphanom.com
** กำหนดการจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนเดินทาง **
วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2554
งานประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้งและการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
งานประเพณีออกพรรษาแห่ปราสาทผึ้งและการแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
วันที่ 8 ต.ค. 2554 - 12 ต.ค. 2554
ร่วมชมความยิ่งใหญ่ตระการตาของขบวนแห่ปราสาทผึ้ง รวมถึงการแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆมากมาย
สถานที่จัดงาน: ณ บริเวณสนามมิ่งเมืองสกลนคร สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์และพะธาตุเชิงชุมวรวิหาร อ.เมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
กิจกรรม:
- การประกวดปราสาทผึ้ง พร้อมชมขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ตระการตา
- การแข่งขันเรือยาวชิงถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
- การประกวดฟ้อนหางนกยูงบนหัวเรือ “เทศกาลของดีของแซบเมืองสกล”
- จำหน่ายอาหาร /สินค้าพื้นเมืองอันเลื่องชื่อของจังหวัดสกลนครพิธีบายศรีสู่ขวัญต้อนรับผู้เข้าร่วมงานที่ยิ่งใหญ่
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมืองมากมาย
ซึ่งประเพณีแห่ปราสาทผึ้งนั้นเป็นอีกหนึ่งประเพณีที่ทางจังหวัดสกลนครได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงของเทศกาลออกพรรษา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง แม้ว่าจะมีอยู่ทั่วไปในหลายจังหวัด แต่ก็ไม่จัดใหญ่โตและปฏิบัติต่อเนื่อง เช่น ของดีเมืองสกลนคร ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชนเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในวันออกพรรษา และเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวงานประเพณีออกพรรษา อนุรักษ์ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง รวมถึงการทำปราสาทผึ้ง
วันพุธที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
ประเพณีไหว้เจ้า 9 ศาล เทศกาลกินเจสมุทรสาคร ประจำปี 2554
ประเพณีไหว้เจ้า 9 ศาล เทศกาลกินเจสมุทรสาคร ประจำปี 2554
วันที่ 26 กันยายน – 5 ตุลาคม 2554
นางสาวอังคณา พุ่มผกา ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสมุทรสงคราม(สมุทรสงคราม นครปฐม สมุทรสาคร) เปิดเผยว่า จังหวัดสมุทรสาคร โดย เทศบาลนครสมุทรสาคร ร่วมกับ ททท. สำนักงานสมุทรสงคราม หน่วยงานภาครัฐและเอกชนในสมุทรสาคร กำหนดจัดงาน “ประเพณีไหว้เจ้า 9 ศาล เทศกาลกินเจสมุทรสาคร ประจำปี 2554 ร่วมสร้างบุญสมทบ 84 กองทุนถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554” ณ บริเวณริมเขื่อนศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรสาคร และศาลเจ้าทั้ง 9 แห่ง ระหว่างวันที่ 26 กันยายน – 5 ตุลาคม 2554 ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลถือศีลกินเจ เนื่องจากในอดีตพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครเป็นเมืองท่าที่มีชาวจีนอพยพมาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน อีกทั้งยังได้สร้างศาลเจ้าขึ้นเพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจตามความเชื่อมากมายหลายศาล ในปัจจุบันจึงมีชาวไทยเชื้อสายจีนที่ยังคงอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามนี้และสืบทอดต่อมาอยู่เป็นจำนวนมาก
ในปีนี้ ประเพณีไหว้เจ้า 9 ศาล เทศกาลกินเจสมุทรสาคร ได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบโดยจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ , เชิญชวนนักท่องเที่ยวและประชาชนร่วมบริจาคสร้างบุญสมทบ 84 กองทุน ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระองค์ และจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูกเพื่อนำรายได้ทั้งหมดสมทบเข้า 84 กองทุน อีกด้วย นอกจากนี้บริเวณริมเขื่อนศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ริมแม่น้ำท่าจีน ยังมีการจำหน่ายอาหารเจจากร้านค้ามากกว่า 50 ร้าน ที่มีการควบคุมคุณภาพ ความสะอาดปลอดภัย และรสชาติของอาหาร มีการจัดนิทรรศการความเป็นมาของประเพณีถือศีลกินเจ และอีกหนึ่งกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้แก่ กิจกรรมไหว้เจ้า 9 ศาล ตามเส้นทางใน “Passport ไหว้เจ้า 9 ศาล เทศกาลกินเจสมุทรสาคร” โดยเมื่อประทับตราศาลเจ้าครบทั้ง 9 ศาลแล้ว สามารถนำไปขอรับเหรียญ “เทพเจ้าไช้ซิ้งเอี้ย” เทพเจ้าแห่งโชคลาภและเงินทองได้ฟรี ที่อุทยานพระโพธิสัตว์กวนอิม ตำบลท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร ทั้งนี้สามารถขอรับ Passport ได้ที่เทศบาลนครสมุทรสาคร ททท. สำนักงานสมุทรสงคราม และ ศาลเจ้าทั้ง 9 แห่ง
ผู้ที่สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ เทศบาลนครสมุทรสาคร โทร. 0 3441 1028 หรือ ททท. สำนักงานสมุทรสงคราม โทร. 0 3475 2847-8 E-mail : tatsmsk@tat.or.th
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำและเทศกาลอาหารอร่อย
ประเพณีอุ้มพระดำน้ำและเทศกาลอาหารอร่อย
วันที่ 25 - 29 กย. 54
สถานที่ : ณ บริเวณศาลากลางจังหวัดเพชรบูรณ์ วัดไตรภูมิ วัดโบสถ์ชนะมาร จ.เพชรบูรณ์
กิจกรรม
ขบวนแห่พระพุทธมหาธรรมราชาทางบกและทางน้ำ พิธีอุ้มพระดำน้ำ การแสดงแสงเสียง เทศกาลอาหารอร่อยและแข่งขันพายเรือทวนน้ำ
ข้อมูลเพิ่มเติม
ประชาสัมพันธ์จังหวัดเพชรบูรณ์ โทร. +66 5674 8980, +66 5672 1733, +66 56711365
สำนักงานเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โทร.+66 5671 1475, +66 5671 1007
วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554
งานสุดปลายทางที่หาดใหญ่
งานสุดปลายทางที่หาดใหญ่
วันที่ 21 ก.ย. 2554 - 23 ก.ย. 2554
สถานที่จัดงาน : ณ บึงศรีภูวนารถ จ.สงขลา
รายละเอียด
เทศบาลนครหาดใหญ่ขอเชิญเที่ยวงาน “สุดปลายทางที่หาดใหญ่” และงานเทศกาลอาหารสะอาด รสชาติอร่อย วันที่ 21 - 23 กันยายน 2544 ณ บริเวณบึงเก็บน้ำ หน่วยดับเพลิงย่อยศรีภูวนารถ ข้าง ป.ณัฐพล จ.สงขลา
เทศบาลนครหาดใหญ่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานหาดใหญ่ และสมาพันธ์ธุรกิจ การท่องเที่ยว จังหวัดสงขลา ร่วมกันจัดงาน “สุดปลายทางที่หาดใหญ่” (Hatyai’s Your Destination) อีกครั้งหนึ่ง ที่บริเวณบึงเก็บน้ำ หน่วยดับเพลิงย่อยศรีภูวนารถ ข้าง ป.ณัฐพล เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมการ ท่องเที่ยวหาดใหญ่ และในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสาธารณสุข จังหวัดสงขลา กระทรวงสาธารณสุข ผนวกกับงานเทศกาลอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) เพื่อพิจารณาร้านอาหาร ภัตตาคาร ที่มีคุณภาพทั้งด้านรสชาติอาหาร ความสะอาด ความนิยมของผู้บริโภคและรับป้ายจากกระทรวง สาธารณสุขในงานนี้
การจัดงานจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งชาวไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ที่เข้ามาในหาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ กิจกรรมที่จัดจะมีดนตรี การแสดงบนเวที โชว์จากสถานบันเทิงดังในหาดใหญ่ การจำหน่ายสินค้าราคาถูก สินค้าหัตถกรรม อาหารพื้นบ้าน อาหารจากร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โดย คัดเลือกร้านที่มีชื่อเสียงของหาดใหญ่ มาให้นักชิมได้ลิ้มลอง เพราะหาดใหญ่มีอาหารที่หลากหลายและ รสชาติเป็นที่ติดใจของนักท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมให้ร้านอาหารเหล่านั้นพัฒนาการปรุงอาหาร รสชาติจะ เน้นความสะอาดให้ได้ระดับมาตรฐานสากล และมีการติดป้ายราคาที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เป็นการเอาเปรียบ นักท่องเที่ยว
เที่ยวให้สนุกสุขในงานใน สุดปลายทางที่หาดใหญ่และงานเทศกาลอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ที่ บริเวณบึงเก็บน้ำ หน่วยดับเพลิงย่อยศรีภูวนารถ ข้าง ป.ณัฐพล วันที่ 21-23 กันยายน 2544 นี้ รับประกัน ความสนุกสนานและความอร่อยที่คุณไม่ควรพลาด
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
กองประชาสัมพันธ์ โทร. +66 2694 1222 ต่อ 1235 - 9
เทศบาลนครหาดใหญ่ โทร. +66 7420 0014
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานหาดใหญ่ (สงขลา พัทลุง) โทร. +66 7423 1055, +66 7423 8515
** กำหนดการจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนเดินทาง **
วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554
งานของดีเมืองนราฯ และการแข่งขันเรือกอและเรือยาว เรือยอกองชิงถ้วยพระราชทานฯ จังหวัดนราธิวาส
งานของดีเมืองนราฯ และการแข่งขันเรือกอและเรือยาว เรือยอกองชิงถ้วยพระราชทานฯ จังหวัดนราธิวาส
วันที่ 20 ก.ย. 2554 - 25 ก.ย. 2554
สถานที่ : ณ บริเวณริมเขื่อนท่าพระยาสาย เทศบาลเมืองนราธิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส
กิจกรรม
การแข่งขันเรือกอและ เรือยาว และเรือยอกองชิงถ้วยพระราชทานหน้าพระที่นั่ง ณ บริเวณพลับพลาเฉลิมพระเกียรติสิริราชสมบัติครบรอบ ๕๐ ปี ริมเขื่อนท่าพระยาสาย เทศบาลเมืองนราธิวาส
ข้อมูลเพิ่มเติม
สำนักงานจังหวัดนราธิวาส โทร. +66 7364 2636
ททท.สำนักงานนราธิวาส โทร. +66 7352 2411
วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554
เทศกาลบุญสารทเดือนสิบ และงานกาชาด ประจำปี 2554
เทศกาลบุญสารทเดือนสิบ และงานกาชาด ประจำปี 2554
วันที่ 21 ก.ย. 2554 - 30 ก.ย. 2554
สถานที่จัดงาน: ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สวนศรีธรรมาโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ประเพณีบุญเดือนสิบ เกิดขึ้นจากความเชื่อในขนบธรรมเนียมประเพณีนิยมสืบทอดแนวคิดจากอินเดียที่ว่า บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วยังต้องใช้เวรกรรมอยู่ในยมโลกและจะกลับมาเยี่ยมญาติหรือครอบครัวของตนในช่วงแรม 1 ค่ำ เดือน 10 ถึง แรม 15ค่ำ ซึ่งทำให้เกิดมีการทำบุญทำทานอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วประเพณีบุญเดือนสิบนี้ไม่ได้มีขึ้นเฉพาะในจังหวัดนครศรีธรรมราชจังหวัดในทางภาคใต้เท่านั้น แต่ยังมีทำกันในจังหวัดทางภาคเหนือ และภาคอีสานอีกด้วย และจะมีชื่อเรียกต่างกัน ในภาคอีสานจะเรียกว่า "งานบุญข้าวสาก"และ"งานบุญตานก๋วยสลาก"
ในวันงานจะถือเป็นเสมือนวันรวมญาติที่จะทยอยกันมาร่วมกันทำบุญ "รับตายาย" ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำเดือน 10 ไปจนถึงวันแรม 15 ค่ำซึ่งถือเป็นวันสุดท้ายแล้วที่บรรพบุรุษของครอบครัวตนจะต้องกลับยมโลกจะร่วมกันทำบุญครั้งสุดท้ายที่เรียกว่า "ส่งตายาย"ซึ่งถือเป็นวันสำคัญที่สุด
สำหรับสำรับอาหารที่จัดไปทำบุญมักจะเป็นชุดทองเหลืองหรือถาดโดยจะจัดของที่ใส่ไว้ เป็นชั้นหรือเป็นชุดโดยชั้นล่างสุดจะใส่ข้าวสาร อาหารแห้ง หอม กระเทียม ชั้นถัดไปเป็นผลไม้และของใช้ประจำวันส่วนชั้นบนสุดใส่ขนมที่เป็นเอกลักษณ์ของงานบุญเดือน 10 ซึ่งขาดไม่ได้มีอยู่ 5 ชนิด คือ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมดีซำ และขนมกง ซึ่งขนมทั้ง 5 ชนิดนี้จะมีความหมายแตกต่างกัน คือ
ขนมลา เปรียบเสมือนเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ตายสวมใส่ในนรกภูมิ
ขนมพอง เปรียบเสมือนแพให้ผู้ตายใช้เป็นพาหนะข้ามห้วยแห่งทุกข์และบาปหรือเวรกรรมต่างๆ
ขนมบ้า เปรียบเสมือน การละเล่นที่ให้ผู้ตายเล่น เช่น สะบ้า
ขนมดีซำ เปรียบเสมือนเบี้ยหรือเงินที่ให้ผู้ตายใช้ในระหว่างใช้เวรกรรมในนรกภูมิ
ขนมกง เปรียบเสมือนเครื่องทรงหรือเครื่องประดับเพื่อให้ดูภูมิฐานและสวยงาม
ส่วนอาหารคาวหวานอย่างอื่นที่จะมีเพิ่มเติมลงไปนั้นก็แล้วแต่จะพิจารณาว่าญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้วของตนจะชอบอาหารหรือขนมใดนอกจากอาหารแล้วยังนิยมใส่เครื่องใช้ไม้สอย อาทิ ด้าย เข็ม และเงินเหรียญ (ธนบัตรก็ได้) ลงไปในสำรับด้วยสำรับอาหารที่จัดไว้ส่วนใหญ่จะจัดเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งเตรียมไว้เพื่อบำเพ็ญกุศลแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วซึ่งจะนำไปบำเพ็ญที่ศาลาวัดและอีกชุดหนึ่งจะจัดเตรียมไว้สำหรับผู้เสียชีวิตที่ไม่มีญาติ หรือไม่มีใครทำบุญไปให้โดยจะตั้งก่อนทางเข้าวัดซึ่งจะเรียกว่า "ตั้งเปรต"หลังจากการบำเพ็ญกุศลเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมพิธีก็จะเข้าแย่งอาหารที่เหลือจากการบำเพ็ญกุศลโดยมีความเชื่อว่าของที่เหลือจากการเซ่นไหว้เปรตนี้ เป็นอาหารศักดิ์สิทธิ์ กินแล้วจะได้กุศลแรงและจะเป็นศิริมงคลแก่ตนและครอบครัวพิธีนี้ชาวนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า"ชิงเปรต"หรือการแย่งอาหารจากเปรตนอกจากการทำบุญที่วัดแล้ว ทางราชการยังจัดให้มีการทำพิธี แห่เป็นทางการ รวมทั้งมีการละเล่นต่างๆควบคู่กันไปด้วย เช่น การแสดงมโนราห์ หนังตะลุง และการแสดงพื้นบ้านอื่นๆ
เทศกาลบุญสารทเดือนสิบ และงานกาชาด ประจำปี 2554 ได้จัดขึ้นบริเวณลานหน้าวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ถ.ราชดำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้มีการรวบรวมหุ่นจำลอง “เปรต” เดือนสิบ ซึ่งเป็นความเชื่อของชาวนครศรีธรรมราชว่าในช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบ บรรดาบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้วโดยเฉพาะบุคคลที่ก่อกรรมไม่ดีไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิตเมื่อตายไปจะลงไปชดใช้กรรมในนรกภูมิกลายเป็น “เปตชน” หรือที่รู้จักในนามของ “เปรต” นั่นเอง
สำหรับขบวนแห่เปรตดังกล่าวนั้นเป็นการจำลองรูปแบบของเปรตลักษณะต่างๆตามแต่จะก่อกรรมมาเมื่อครั้งดำรงชีวิต เมื่อถึงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบยมโลกหรือนรกภูมิจะพักการลงโทษเปรตเหล่านี้และปลดปล่อยให้ขึ้นมารับส่วนบุญส่วนกุศลที่ลุกหลานได้ร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ในรช่วงเทศกาลบุญสารทเดือนสิบนครศรีธรรมราช และได้มีการจำลองรูปแบบขอส่วนบุญส่วนกุศลตามเส้นทางถนนราชดำเนินท่ามกลางความสนุกสนานของผู้พบเห็นบ้างใช้เป็นโอกาสในการสั่งสอบบุตรหลานถึงการทำกรรมชั่ว เมื่อตายไปจะตกนรกภูมิกลายเป็นเปรตเช่นนี้ โดยขบวนเปรตดังกล่าวนี้ได้ตั้งต้นแห่จากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารแล้วไปสิ้นสุดที่ลานตะเคียนศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อจัดแสดงในบริเวณดังกล่าว
กิจกรรม
- ขบวนแห่หฺมฺรับจากสนามหน้าเมืองไปยังวัดพระมหาธาตุ
- พิธียกหฺมฺรับเพื่ออุทิศส่วนบุญแก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ
- ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน
- นิทรรศการจากหน่วยงานภาครัฐ
- การออกร้าน OTOP
- การประกวดร้านค้าย้อนยุค
- การประกวดแข่งขันหัตถกรรมพื้นบ้าน มหรสพทางวิญญาณ
- การแสดงรำวงเวียนครก
ข้อมูลเพิ่มเติม
จังหวัดนครศรีธรรมราช โทร. +66 7535 6133
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครศรีธรรมราช โทร. +66 7534 6515-6, +66 7535 8392
** กำหนดการจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนเดินทาง **
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
งานประเพณีสารทไทยและแข่งเรือยาวประเพณี
งานประเพณีสารทไทยและแข่งเรือยาวประเพณี
วันที่ 12 กันยายน 2554
สถานที่ : ณ บริเวณวัดทวีพูลรังสรรค์ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก
กิจกรรม
ชมการแข่งขันเรือยาวประเพณี
ทำบุญฟังธรรมวันสารทไทย
ชมมหรสพ ดนตรีและการแสดง
ข้อมูลเพิ่มเติม
องค์การบริหารส่วนตำบลทรายมูล โทร. +66 3732 2420
ททท. สำนักงานนครนายก โทร. +66 3731 2282, +66 3731 2284
www.tat8.com
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554
เทศกาลกินปูนิ่ม ชิมหอยแม่บ้าน
เทศกาลกินปูนิ่ม ชิมหอยแม่บ้าน
วันที่ 10 ก.ย. 2554 - 20 ก.ย. 2554
สถานที่จัดงาน: ณ ต.ห้วงน้ำขาว อ.เมืองตราด จังหวัดตราด
กิจกรรม:
การจัดงานนี้ เนื่องจากตำบลห้วงน้ำขาวเป็นพื้นที่ที่ติดกับริมฝั่งทะเล จึงทำให้ชาวบ้านในแถบนี้จำนวนมากประกอบอาชีพทำการประมง ทั้งการเลี้ยงหอยนางรม หอยหวาน หอยแมลงภู่ และการเลี้ยงปูนิ่ม ประกอบกับกลุ่มแม่บ้านชาวตำบลห้วงน้ำขาวล้นมีฝีมือในการประกอบอาหารพื้นบ้าน ผู้นำท้องถิ่นจึงร่วมกับประชาชนในพื้นที่จัดงานเทศกาลปูนิ่ม ชิมหอยแม่บ้าน ขึ้นเป็นประจำทุกปี
นอกจากนี้ยังเพื่อเป็นการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ และเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้ชิมอาหารพื้นบ้านของตำบลห้วงน้ำขาว และเห็นว่าหมู่บ้านแห่งนี้มีศักยภาพในการส่งเสริมการท่องเที่ยว เห็นได้จากบ้านคันนา หมู่ 5 ได้รับคัดเลือกจากกระทรวงมหาดไทยให้เป็นหมู่บ้านสมาร์ทโอทอป หรือหมู่บ้านท่องเที่ยว 1 ใน 200 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ ซึ่งทางจังหวัดจะได้ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ณ หมู่บ้านแห่งนี้ พร้อมทั้งเชื่อมโยงการท่องเที่ยวทางทะเล อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
สำหรับงานนี้ มีกลุ่มแม่บ้านใน ต.ห้วงน้ำขาว นำอาหารที่มีส่วนประกอบหลักจากจากหอยหลากหลายชนิด เช่น หอยแมงภู่ หอยปากเป็ด หอยหวาน หอยขาว หอยนางรม รวมทั้งปูนิ่ม ทำอาหารหลากหลายชนิดทั้งต้ม ผัด ยำ ทอด มาจำหน่ายในราคาย่อมเยาว์ ซึ่งมีชาวบ้านใน ตำบลใกล้เคียงและนักท่องเที่ยวต่างเดินทางมาร่วมรับประทานอาหาร
โดยมีการจำหน่ายอาหารที่ปรุงจากหอยนานาชนิดที่ปรุงโดยแม่บ้าน บ้านคันนา การแข่งขัน กีฬาพื้นบ้าน และการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้าจากกลุ่มแม่บ้าน จัดกิจกรรมประกวดอาหารพื้นบ้าน จำหน่ายอาหารทะเล แข่งขันเก็บหอย
ข้อมูลเพิ่มเติม:
ททท.สำนักงานตราด โทร. +66 3959 7259 – 60
** กำหนดการจัดงานอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โปรดตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งก่อนเดินทาง **